เมนู

4. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เพาระปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[627] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

2. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศล
กรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ฯลฯ ออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[628] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)